วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

ระบบสุริยะจักรวาล

คำว่า ระบบสุริยะควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า ระบบสุริยะจักรวาลอย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่าจักรวาล ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน

ภาพ:484879.jpg

สารบัญ

[ซ่อนสารบัญ]

[แก้ไข] ระบบสุริยะจักรวาล

        ระบบสุริยะ ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่นๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ เช่น ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และดาวบริวาร โลกเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 3 โดยทั่วไป ถ้าให้ถูกต้องที่สุดควรเรียกว่า ระบบดาวเคราะห์ เมื่อกล่าวถึงระบบที่มีวัตถุต่างๆ โคจรรอบดาวฤกษ์
        ระบบสุริยะ คือระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ (Planet) เป็นบริวารโคจรอยู่โดยรอบ เมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ต่อการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตก็จะเกิดขึ้นบนดาวเคราะห์เหล่านั้น หรือ บริวารของดาวเคราะห์เองที่เรียกว่าดวงจันทร์ (Satellite) นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ในบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมดกว่าแสนล้านดวงในกาแลกซี่ทางช้างเผือก ต้องมีระบบสุริยะที่เอื้ออำนวยชีวิตอย่าง ระบบสุริยะที่โลกของเราเป็นบริวารอยู่อย่างแน่นอน เพียงแต่ว่าระยะทางไกลมากเกินกว่าความสามารถในการติดต่อจะทำได้ถึงที่โลกของเราอยู่เป็นระบบที่ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ (The sun) เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ (Planets) 9 ดวง ที่เราเรียกกันว่า ดาวนพเคราะห์ ( นพ แปลว่า เก้า) เรียงตามลำดับ จากในสุดคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต ( ตอนนี้ไม่มีพลูโตแร้ว เหลือแค่ 8 ดวง )
        และยังมีดวงจันทร์บริวารของ ดวงเคราะห์แต่ละดวง (Moon of sattelites) ยกเว้นเพียง สองดวงคือ ดาวพุธ และ ดาวศุกร์ ที่ไม่มีบริวาร ดาวเคราะห์น้อย (Minor planets) ดาวหาง (Comets) อุกกาบาต (Meteorites) ตลอดจนกลุ่มฝุ่นและก๊าซ ซึ่งเคลื่อนที่อยู่ในวงโคจร ภายใต้อิทธิพลแรงดึงดูด จากดวงอาทิตย์ ขนาดของระบบสุริยะ กว้างใหญ่ไพศาลมาก เมื่อเทียบระยะทาง ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ซึ่งมีระยะทางประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 1au.(astronomy unit) หน่วยดาราศาสตร์ กล่าวคือ ระบบสุริยะมีระยะทางไกลไปจนถึงวงโคจร ของดาวพลูโต ดาว เคราะห์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ในระบบสุริยะ ซึ่งอยู่ไกล เป็นระยะทาง 40 เท่าของ 1 หน่วยดาราศาสตร์ และยังไกลห่างออก ไปอีกจนถึงดงดาวหางอ๊อต (Oort's Cloud) ซึ่งอาจอยู่ไกลถึง 500,000 เท่า ของระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ด้วย ดวงอาทิตย์มีมวล มากกว่าร้อยละ 99 ของ มวลทั้งหมดในระบบสุริยะ ที่เหลือ
        นอกนั้นจะเป็นมวลของ เทหวัตถุต่างๆ ซึ่ง ประกอบด้วยดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และอุกกาบาต รวมไปถึงฝุ่นและก๊าซ ที่ล่องลอยระหว่าง ดาวเคราะห์ แต่ละดวง โดยมีแรงดึงดูด (Gravity) เป็นแรงควบคุมระบบสุริยะ ให้เทหวัตถุบนฟ้าทั้งหมด เคลื่อนที่เป็นไปตามกฏแรง แรงโน้มถ่วงของนิวตัน ดวงอาทิตย์แพร่พลังงาน ออกมา ด้วยอัตราประมาณ 90,000,000,000,000,000,000,000,000 แคลอรีต่อวินาที เป็นพลังงานที่เกิดจากปฏิกริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ โดยการเปลี่ยนไฮโดรเจนเป็นฮีเลียม ซึ่งเป็นแหล่งความร้อนให้กับดาว ดาวเคราะห์ต่างๆ ถึงแม้ว่าดวงอาทิตย์ จะเสียไฮโดรเจนไปถึง 4,000,000 ตันต่อวินาทีก็ตาม แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังมีความเชื่อว่าดวงอาทิตย์ จะยังคงแพร่พลังงานออกมา ในอัตรา ที่เท่ากันนี้ได้อีกนานหลายพันล้านปี

ภาพ:455464.jpg

        ชื่อของดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวงยกเว้นโลก ถูกตั้งชื่อตามเทพของชาวกรีก เพราะเชื่อว่าเทพเหล่านั้นอยู่บนสรวงสวรค์ และเคารพบูชาแต่โบราณกาล ในสมัยโบราณจะรู้จักดาวเคราะห์เพียง 5 ดวงเท่านั้น(ไม่นับโลกของเรา) เพราะสามารถเห็นได้ ด้วยตาเปล่าคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ประกอบกับดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ รวมเป็น 7 ทำให้เกิดวันทั้ง 7 ในสัปดาห์นั่นเอง และดาวทั้ง 7 นี้จึงมีอิทธิกับดวงชะตาชีวิตของคนเราตามความเชื่อถือทางโหราศาสตร์ ส่วนดาวเคราะห์อีก 3 ดวงคือ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต ถูกคนพบภายหลัง แต่นักดาราศาสตร์ก็ตั้งชื่อตามเทพของกรีก เพื่อให้สอดคล้องกันนั่นเอง

[แก้ไข] ทฤษฎีการกำเนิดของระบบสุริยะ

        หลักฐานที่สำคัญของการกำเนิดของระบบสุริยะก็คือ การเรียงตัว และการเคลื่อนที่อย่างเป็นระบบระเบียบของดาว เคราะห์ ดวงจันทร์บริวาร ของดาวเคราะห์ และดาวเคราะห์น้อย ที่แสดงให้เห็นว่าเทหวัตถุ ทั้งมวลบนฟ้า นั้นเป็นของ ระบบสุริยะ ซึ่งจะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย ที่เทหวัตถุท้องฟ้า หลายพันดวง จะมีระบบ โดยบังเอิญโดยมิได้มีจุดกำเนิด ร่วมกัน Piere Simon Laplace ได้เสนอทฤษฎีจุดกำเนิดของระบบสุริยะ ไว้เมื่อปี ค.ศ.1796 กล่าวว่า ในระบบสุริยะจะ มีมวลของก๊าซรูปร่างเป็นจานแบนๆ ขนาดมหึมาหมุนรอบ ตัวเองอยู่ ในขณะที่หมุนรอบตัวเองนั้นจะเกิดการหดตัวลง เพราะแรงดึงดูดของมวลก๊าซ ซึ่งจะทำให้ อัตราการหมุนรอบตัวเองนั้น จะเกิดการหดตัวลงเพราะแรงดึงดูดของก๊าซ ซึ่งจะทำให้อัตราการ หมุนรอบตังเอง มีความเร็วสูงขึ้นเพื่อรักษาโมเมนตัมเชิงมุม (Angular Momentum) ในที่สุด เมื่อความเร็ว มีอัตราสูงขึ้น จนกระทั่งแรงหนีศูนย์กลางที่ขอบของกลุ่มก๊าซมีมากกว่าแรงดึงดูด ก็จะทำให้เกิดมีวงแหวน ของกลุ่มก๊าซแยก ตัวออกไปจากศุนย์กลางของกลุ่มก๊าซเดิม และเมื่อเกิดการหดตัวอีกก็จะมีวงแหวนของกลุ่มก๊าซเพิ่มขึ้น ขึ้นต่อไปเรื่อยๆ วงแหวนที่แยกตัวไปจากศูนย์กลางของวงแหวนแต่ละวงจะมีความกว้างไม่เท่ากัน ตรงบริเวณ ที่มีความ หนาแน่นมากที่สุดของวง จะคอยดึงวัตถุทั้งหมดในวงแหวน มารวมกันแล้วกลั่นตัว เป็นดาวเคราะห์ ดวงจันทร์ของดาว ดาวเคราะห์จะเกิดขึ้นจากการหดตัวของดาวเคราะห์
         สำหรับดาวหาง และสะเก็ดดาวนั้น เกิดขึ้นจากเศษหลงเหลือระหว่าง การเกิดของดาวเคราะห์ดวงต่างๆ ดังนั้น ดวงอาทิตย์ในปัจจุบันก็คือ มวลก๊าซ ดั้งเดิมที่ทำให้เกิดระบบสุริยะขึ้นมานั่นเอง นอกจากนี้ยังมีอีกหลายทฤษฎีที่มีความเชื่อในการเกิดระบบสุริยะ แต่ในที่สุดก็มีความเห็นคล้ายๆ กับแนวทฤษฎีของ Laplace ตัวอย่างเช่น ทฤษฎีของ Coral Von Weizsacker นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ซึ่งกล่าวว่า มีวง กลมของกลุ่มก๊าซและฝุ่นละอองหรือเนบิวลา ต้นกำเนิดดวงอาทิตย์ (Solar Nebular) ห้อมล้อมอยู่รอบดวงอาทิตย์ ขณะที่ดวงอาทิตย์เกิดใหม่ๆ และ ละอองสสารในกลุ่มก๊าซ เกิดการกระแทกซึ่งกันและกัน แล้วกลายเป็นกลุ่มก้อนสสาร ขนาดใหญ่ จนกลายเป็น เทหวัตถุแข็ง เกิดขั้นในวงโคจรของดวงอาทิตย์ ซึ่งเราเรียกว่า ดาวเคราะห์ และดวงจันทร์ของ ดาวเคราะห์นั่นเอง

ภาพ:15146546.jpg

        ระบบสุริยะของเรามีขนาดใหญ่โตมากเมื่อเทียบกับโลกที่เราอาศัยอยู่ แต่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับกาแล็กซีของเราหรือ กาแล็กซีทางช้างเผือก ระบบสุริยะตั้งอยู่ในบริเวณ วงแขนของกาแล็กซีทางช้างเผือก (Milky Way) ซึ่งเปรียบเสมือนวง ล้อยักษ์ที่หมุนอยู่ในอวกาศ โดยระบบสุริยะ จะอยู่ห่างจาก จุดศูนย์กลางของกาแล็กซีทางช้างเผือกประมาณ 30,000 ปีแสง ดวงอาทิตย์ จะใช้เวลาประมาณ 225 ล้านปี ในการเคลื่อน ครบรอบจุดศูนย์กลาง ของกาแล็กซี ทางช้างเผือกครบ 1 รอบ นักดาราศาสตร์จึงมี ความเห็นร่วมกันว่า เทหวัตถุทั้ง มวลในระบบสุริยะไม่ว่าจะเป็นดาวเคราะห์ทุกดวง ดวงจันทร์ของ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และอุกกาบาต เกิดขึ้นมาพร้อมๆกัน มีอายุเท่ากันตามทฤษฎีจุดกำเนิดของระบบ สุริยะ และจาการนำ เอาหิน จากดวงจันทร์มา วิเคราะห์การสลายตัว ของสารกัมมันตภาพรังสี ทำให้ทราบว่าดวงจันทร์มี อายุประมาณ 4,600 ล้านปี ในขณะเดียวกัน นักธรณีวิทยาก็ได้คำนวณ หาอายุของหินบนผิวโลก จากการสลายตัว ของอตอม อะตอมยูเรเนียม และสารไอโซโทป ของธาตุตะกั่ว ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า โลก ดวงจันทร์ อุกกาบาต มีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี และอายุของ ระบบสุริยะ นับตั้งแต่เริ่มเกิดจากฝุ่นละอองก๊าซ ในอวกาศ จึงมีอายุไม่เกิน 5000 ล้านปี ในบรรดาสมาชิกของระบบสุริยะซึ่งประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดวงจันทร์ ของดาวเคราะห์ดาวหาง อุกกาบาต สะเก็ดดาว รวมทั้งฝุ่นละองก๊าซ อีกมากมาย นั้นดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ 9 ดวง จะได้รับความสนใจมากที่สุดจากนักดาราศาสตร์

[แก้ไข] วัตถุในระบบสุริยะ

'ดวงอาทิตย์ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ที่มีชนิดสเปกตรัม G2 มีมวลประมาณ 99.86% ของทั้งระบบ
  • ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะมี 8 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และ ดาวเนปจูน
ดาวบริวาร คือ วัตถุที่โคจรรอบดาวเคราะห์ ฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็กอื่นๆ ที่ประกอบกันเป็นวงแหวนโคจรรอบดาวเคราะห์ ขยะอวกาศที่โคจรรอบโลก เป็นชิ้นส่วนของจรวด ยานอวกาศ หรือดาวเทียมที่มนุษย์สร้างขึ้น
  • ซากจากการก่อตัวของดาวเคราะห์ เป็นเศษฝุ่นที่จับตัวกันในยุคแรกที่ระบบสุริยะก่อกำเนิด อาจหมายรวมถึงดาวเคราะห์น้อยและดาวหาง
  • ดาวเคราะห์น้อย คือ วัตถุที่มีขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ ส่วนใหญ่มีวงโคจรไม่เกินวงโคจรของดาวพฤหัสบดี อาจแบ่งได้เป็นกลุ่มและวงศ์ ตามลักษณะวงโคจร
  • ดาวบริวารดาวเคราะห์น้อย คือ ดาวเคราะห์น้อยขนาดเล็กที่โคจรรอบดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดใหญ่กว่าหรืออาจมีขนาดพอๆ กัน
  • ดาวเคราะห์น้อยทรอย คือ ดาวเคราะห์น้อยที่มีวงโคจรอยู่ในแนววงโคจรของดาวพฤหัสบดีที่จุด L4 หรือ L5 อาจใช้ชื่อนี้สำหรับดาวเคราะห์น้อยที่อยู่ที่จุดลากรางจ์ของดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ด้วย
  • สะเก็ดดาว คือ ดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดเท่าก้อนหินขนาดใหญ่ลงไปถึงผงฝุ่น
  • ดาวหาง คือ วัตถุที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็ง มีวงโคจรที่มีความรีสูง โดยปกติจะมีจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดอยู่ภายในวงโคจรของดาวเคราะห์วงใน และมีจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุดห่างไกลเลยวงโคจรของดาวพลูโต ดาวหางคาบสั้นมีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่านี้ อย่างไรก็ตาม ดาวหางที่มีอายุเก่าแก่มักสูญเสียน้ำแข็งไปหมดจนกลายเป็นดาวเคราะห์น้อย ดาวหางที่มีวงโคจรเป็นรูปไฮเพอร์โบลา อาจมีกำเนิดจากภายนอกระบบสุริยะ
  • เซนทอร์ คือ วัตถุคล้ายดาวหางที่มีวงโคจรรีน้อยกว่าดาวหาง มักอยู่ในบริเวณระหว่างวงโคจรของดาวพฤหัสบดีและดาวเนปจูน
  • วัตถุทีเอ็นโอ คือ วัตถุที่มีกึ่งแกนเอกของวงโคจรเลยดาวเนปจูนออกไป
  • วัตถุแถบไคเปอร์ มีวงโคจรอยู่ระหว่าง 30 ถึง 50 หน่วยดาราศาสตร์ คาดว่าเป็นที่กำเนิดของดาวหางคาบสั้น บางครั้งจัดดาวพลูโตเป็นวัตถุประเภทนี้ด้วย นอกเหนือจากการเป็นดาวเคราะห์ จึงเรียกชื่อวัตถุที่มีวงโคจรคล้ายดาวพลูโตว่าพลูติโน
  • วัตถุเมฆออร์ต คือ วัตถุที่คาดว่ามีวงโคจรอยู่ระหว่าง 50,000 ถึง 100,000 หน่วยดาราศาสตร์ ซึ่งเชื่อว่าเป็นถิ่นกำเนิดของดาวหางคาบยาว
  • เซดนา วัตถุที่เพิ่งค้นพบเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งมีวงโคจรเป็นวงรีสูงมาก ห่างดวงอาทิตย์ระหว่าง 76-850 หน่วยดาราศาสตร์ ไม่สามารถจัดอยู่ในประเภทใดได้ แม้ว่าผู้ค้นพบให้เหตุผลสนับสนุนว่ามันอาจเป็นส่วนหนึ่งของเมฆออร์ต ฝุ่นซึ่งกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในระบบสุริยะ อาจเป็นสาเหตุของปรากฏการณ์แสงจักรราศี ฝุ่นบางส่วนอาจเป็นฝุ่นระหว่างดาวที่มาจากนอกระบบสุริยะ

ภาพ:546546464.jpg

[แก้ไข] ดาวเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาล

[แก้ไข] ดวงอาทิตย์ (Sun)

        เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะจักรวาล อยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางประมาณ 93 ล้านไมล์ และมีขนาดใหญ่กว่าโลกมากกว่า 1 ล้านเท่า มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางยาวกว่าโลก 100 เท่า ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่มีแสงสว่างในตัวเอง ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของโลก อุณหภูมิของดวงอาทิตย์อยู่ระหว่าง 5,500 - 6,100 องศาเซลเซียส พลังงานของดวงอาทิตย์ทั้งหมดเกิดจากก๊าซไฮโดรเจน โดยพลังงานดังกล่าวเกิดจากปฏิกริยานิวเคลียร์ภายใต้สภาพความกดดันสูงของดวงอาทิตย์ ทำให้อะตอมของไฮโดรเจนซึ่งมีอยู่มากบนดวงอาทิตย์ทำปฏิกริยาเปลี่ยนเป็นฮีเลียม ซึ่งจะส่งผ่านพลังงานดังกล่าวมาถึงโลกได้เพียง 1 ใน 200 ล้านของพลังงานทั้งหมด นอกจากนั้นบนพื้นผิวของดวงอาทิตย์ยังเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงของพลังงานความร้อนบนดวงอาทิตย์อันเนื่องมาจากจุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sunspot) ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการแปรผันของพายุแม่เหล็ก และพลังงานความร้อน ทำให้อนุภาคโปรตรอนและอิเล็กตรอนหลุดจากพื้นผิวดวงอาทิตย์สู่ห้วงอวกาศ เรียกว่า ลมสุริยะ (Solar Wind) และแสงเหนือและใต้ (Aurora) เป็นปรากฏการณ์ที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้
  • การเกิดจุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sunspot) บางครั้งเราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และจะเห็นได้ชัดเจนเวลาดวงอาทิตย์ใกล้ตกดิน จุดดับของดวงอาทิตย์จะอยู่ประมาณ 30 องศาเหนือ และ ใต้ จากเส้นศูนย์สูตร ที่เห็นเป็นจุดสีดำบริเวณดวงอาทิตย์เนื่องจากเป็นจุดที่มีแสงสว่างน้อย มีอุณหภูมิประมาณ 4,500 องศาเซลเซียส ต่ำกว่าบริเวณโดยรอบประมาณ 2,800 องศาเซลเซียส นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าก่อนเกิดจุดดับบนดวงอาทิตย์นั้น ได้รับอิทธิพลจากอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าบริเวณพื้นผิวดวงอาทิตย์มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้อุณหภูมิบริเวณดังกล่าวต่ำกว่าบริเวณอื่นๆ และเกิดเป็นจุดดับบนดวงอาทิตย์
  • แสงเหนือและแสงใต้(Aurora) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดบริเวณขั้วโลกเหนือ และขั้วโลกใต้ มีลักษณะเป็นลำแสงที่มีวงโค้ง เป็นม่าน หรือ เป็นแผ่น เกิดเหนือพื้นโลกประมาณ 100 - 300 กิโลเมตร ณ ระดับความสูงดังกล่าวก๊าซต่างๆ จะเกิดการแตกตัวเป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า และเมื่อถูกแสงอาทิตย์จะเกิดปฏิกริยาที่ซับซ้อนทำให้มองเห็นแสงตกกระทบเป็นแสงสีแดง สีเขียว หรือ สีขาว บริเวณขั้วโลกทั้งสองมีแนวที่เกิดแสงเหนือและแสงใต้บ่อย เราเรียกว่า "เขตออโรรา" (Aurora Zone)

[แก้ไข] ดาวพุธ (Mercury)

        เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด สังเกตเห็นด้วยตาเปล่าได้ตอนใกล้ค่ำและ ช่วงรุ่งเช้า ดาวพุธไม่มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร ดาวพุธหมุนรอบตัวเองจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออกกินเวลา ประมาณ 58 - 59 วัน และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 88 วัน

[แก้ไข] ดาวศุกร์ (Venus)

        สังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยสามารถมองเห็นได้ทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันตกในเวลาใกล้ค่ำ เราเรียกว่า"ดาวประจำเมือง" (Evening Star) ส่วนช่วงเช้ามืดปรากฏให้เห็นทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกเรียกว่า "ดาวรุ่ง" (Morning Star) เรามักสังเกตเห็นดาวศุกร์มีแสงส่องสว่างมากเนื่องจาก ดาวศุกร์มีชั้นบรรยากาศที่ประกอบไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีผลทำให้อุณหภูมิพื้นผิวสูงขึ้น ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก ไม่มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร

[แก้ไข] โลก (Earth)

        โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ เนื่องจากมีชั้นบรรยากาศและมีระยะห่าง จากดวงอาทิตย์ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต นักดาราศาสตร์อธิบายเกี่ยวกับการเกิดโลกว่า โลกเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มก๊าซ และมีการเคลื่อนทีสลับซับซ้อนมาก โดยเราจะได้ศึกษาในรายละเอียดต่อไป

[แก้ไข] ดาวอังคาร (Mars)

        อยู่ห่างจากโลกของเราเพียง 35 ล้านไมล์ และ 234 ล้านไมล์ เนื่องจากมีวงโคจรรอบดวง อาทิตย์เป็นวงรี พื้นผิวดาวอังคารมีปรากฏการณ์เมฆและพายุฝุ่นเสมอ เป็นที่น่าสนใจในการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีลักษณะและองค์ประกอบที่ใกล้เคียงกับโลก เช่น มีระยะเวลาในการหมุนรอบตัวเอง 1 วัน เท่ากับ 24.6 ชั่วโมง และระยะเวลาใน 1 ปี เมื่อเทียบกับโลกเท่ากับ 1.9 มีการเอียงของแกน 25 องศา ดาวอังคารมีดวงจันทร์เป็นบริวาร 2 ดวง

[แก้ไข] ดาวพฤหัสบดี (Jupiter)

        เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา 9.8 ชั่วโมง ซึ่งเร็วที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหลาย และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา12 ปี นักดาราศาสตร์อธิบายว่า ดาวพฤหัสเป็นกลุ่มก้อนก๊าซหรือของเหลวขนาดใหญ่ ที่ไม่มีส่วนที่เป็นของแข็งเหมือนโลก และเป็นดาวเคราะห์ที่มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวารมากถึง 16 ดวง

[แก้ไข] ดาวเสาร์ (Saturn)

        เป็นดาวเคราะห์ที่เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เป็นดาวที่ประกอบไปด้วยก๊าซและของ เหลวสีค่อนข้างเหลือง หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา 10.2 ชั่วโมง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบใช้เวลา 29 ปี ลักษณะเด่นของดาวเสาร์ คือ มีวงแหวนล้อมรอบ ซึ่งวงแหวนดังกล่าวเป็นอนุภาคเล็กๆ หลายชนิดที่หมุนรอบดาวเสาร์มีวงแหวนจำนวน 3 ชั้น ดาวเสาร์มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร 1 ดวง และมีดวงจันทร์ดวงหนึ่งชื่อ Titan ซึ่งถือว่าเป็นดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล

[แก้ไข] ดาวยูเรนัส (Uranus)

        หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 16.8 ชั่วโมง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 84 ปี ดาวยูเรนัสประกอบด้วยก๊าซและของเหลว เช่นเดียวกับ ดาวพฤหัส และดาวเสาร์ 4.8 ดาวเนปจูน (Neptune) เป็นดาวเคราะห์ที่มีระยะเวลาในการหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ เท่ากับ 17.8 ชั่วโมง และระยะ เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ เท่ากับ 165 ปี มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร 2 ดวง

[แก้ไข] ดาวพลูโต (Pluto)

        เป็นดาวเคราะห์ดวงสุดท้ายของระบบสุริยะจักรวาล มีระยะเวลาในการหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ รอบ เท่ากับ 453 ชั่วโมง ระยะเวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ เท่ากับ 248 ปี เป็นดวงดาวที่มีขนาดใกล้เคียงกับดาวพุธ และมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุด

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วิธีทำมะม่วงกวน

มะม่วงกวน มะม่วงแผ่น ทำกินเอง หรือ ทำขาย เก็บไว้ได้นาน

มะม่วงแผ่น

มะกวน มะม่วงแผ่น ทำจากมะม่วงสุกที่กินหรือขายไม่หมด ไม่ทัน จะเสีย เน่า แล้วทิ้ง ก่อนที่จะเสีย หรือไม่อยากกินแล้ว เพราะงอมเกินไปหรือมีมากเกินไป  ราคาถูก ไม่ได้ขาย หล่นใต้ต้น หาซื้อง่าย ราคาไม่แพง ไม่ทราบจะเด็ดไปฝากใคร มีกันเกือบทุกบ้านตามหมู่บ้าน หลายๆเหตุผล  ฯลฯ

     ลองเก็บมาทำมะม่วงแผ่น ไว้กินข้ามวัน ข้ามเดือน ข้ามปี ของฝาก  ของขาย ได้ทั้งนั้น ได้กลับไปบ้านสุพรรณ และช่วยแม่ทำมะม่วงแผ่นหลายวัน เก็บภาพมาฝากและชวนทำมะม่วงกวน มะม่วงแผ่นค่ะ 

    ตอนนี้หน้ามะม่วง มีมะม่วงหลายพันธุ์ให้เลือกซื้อ หรือ มีต้นที่บ้าน  เช่น ทองดำ น้ำตาลทราย พิมเสน  อกร่อง  เขียวเสวย เพชรบ้านลาด ฟ้าลั่น น้ำดอกไม้  โชคอนันต์  เจ้าคุณ  มหาชนก แก้ว ฯลฯ  หากสุก แล้วลองนำมาทำมะม่วงแผ่นเพื่อเก็บไว้ได้นานๆ  

               

         มะม่วงกวน-แผ่น

  

 

  

  

เขียวเสวยเป็นมะม่วงมัน พอสุกแล้วหวานมากแต่ทำมะม่วงแผ่นแล้วหวานไม่มาก ควรนำมะม่วงพันธุ์อื่นๆที่เปรี้ยวมาผสมด้วย

 

 

มะม่วงน้ำดอกไม้  สุกทำมะม่วงแผ่นอร่อย มะม่วงเปรี้ยวสุก นำมาทำมะม่วงกวน-แผ่น อร่อยกว่ามะม่วงมันสุก หากชอบเปรี้ยวก็ใส่มะม่วงเปรี้ยวมากหน่อย

 

 

มะม่วงน้ำดอกไม้สุก

 

 

ปอกเปลือก ส่วนที่เสียก็ตัดทิ้ง

 

 

ล้างน้ำแล้วทิ้งไว้สักพักให้สะเด็ดน้ำ

 

 

หากมะม่วงไม่งอมหรือมะม่วงมันสุก สับให้ละเอียดหรือเล็กๆ หรือ ใส่เครื่องปั่น ก็รวดเร็วดี

 

 

สับมะม่วงใส่ในภาชนะหรือหม้อเตรียมกวน มะม่วงมันสุกจะเหนียวควรสับละเอียด ถ้าเป็นมะม่วงเปรี้ยว เช่น น้ำดอกไม้ไม่ต้องสับ เวลากวนจะละเอียดเอง

 

 

ใส่เกลือนิดๆ หม้อตั้งไฟกวนใช้ไม้พาย อย่าหยุดเพื่อไม่ให้ก้นหม้อไหม้ พอเดือดสักพัก ก็ปิดไฟ หากกวนนานก็จะงวดมากเวลาตากจะเหนียวมาก ตากยาก  พอเย็นหรือทิ้งไว้ 1 คืน พออีกวันก็นำไปยีกรอง   หากเป็นมะม่วงเปรี้ยวมากจะเติมน้ำตาลก็ได้

 

 

การยีกรอง หากทำน้อยก็ยีในกระชอนหรือตะแกรง หากใช้เครื่องปั่นก็ไม่ต้องกรองพอตั้งไฟกวนจนเดือดสักพัก ก็หยุดปิดไฟเตรียมตากแดด

 

 

กรองเนียน

 

 

ยีจนหมดก็ใส่ภาชนะตากแดด

 

 

เตรียมตาก

 

 

หากไม่เหนียวมาก ก็เขย่าๆเบาจนกระจายเต็มจานหรือถาด

 

 

ตาดแดดจัด 1 วัน แล้วเก็บคว่ำคู่กัน ทิ้งไว้ 1 คืน เช้ามาก็ใช้ช้อนค่อยๆวนรอบคอบนอก แล้วดึงออกมาเป็นแผ่น ตากบนราวเชือกหรือลวด(เหมือนการตากผ้า)หรือคว่ำไว้ที่ภาชนะเดิม

 

 

แคะ-ดึงออกจากภาชนะที่ใส่ตากแดด คว่ำไว้ตามภาพผึ่งไว้ในที่ร่ม อีก 1 วัน แล้วจึงเก็บพับหรือม้วนไว้ เก็บไว้ได้นาน

 

 

หรือจะพับใส่ถุง

 

 

นำถาดแช่น้ำล้างให้สะอาด คว่ำไว้ให้แห้งเพื่อรอตากในการทำครั้งต่อไป  จะใช้ ใบแก่ของต้นทองกวาว  ใบตอง หรือ พลาสติกใสอย่างหนาๆมาตากได้  การทำมะม่วงแผ่นทำไม่ยาก เพียงแต่ใช้เวลา 2 วัน ถึงจะได้ชิมอร่อยๆได้ค่ะ

 

           ด้วยความปรารถนาดี   กานดา แสนมณี

      

 


              ต้นมะม่วง อกร่องขาว

ขนมทองหยิบฝอยทองทองหยอด

ทองหยิบ-ฝอยทอง-ทองหยอด

เครื่องปรุงไข่เอาแต่ไข่แดง 10 ฟอง
น้ำตาลทราย 1/2 กิโลกรัม
น้ำดอกไม้สด 3 ถ้วย

วิธีทำตีไข่ให้เข้ากันพักไว้ เอาน้ำตาลกับน้ำดอกไม้สดใส่กะทะทองเหลือง ตั้งไฟเคี่ยวให้ละลายแล้วกรองด้วยผ้าขาว เคี่ยวต่อไปจนน้ำตาลข้นขนาดยางมะตูม

ทำทองหยิบ ตักไข่ลงในน้ำเชื่อมครั้งละ 1 ช้อนชา อย่าให้แผ่นไข่ติดกัน พอสุกตักขึ้นใส่ถ้วยกระจิบเล็ก แล้วหยิบให้มีรอยจีบซัก 3-4 จีบ

ทำฝอยทอง ตักไข่ที่ตีไว้ใส่กรวยทองเหลือง ยกกรวยให้สูงจากกะทะประมาณ 1 ฟุต แล้ววนกรวยไปทางเดียวกัน จนกว่าไข่จะไหลออกหมดกรวย พอไข่ขึ้นเป็นเส้นใช้ไม้ปลายแหลมช้อนขึ้น พับให้เป็นจับๆ

ทำทองหยอด ถ้าจะทำทองหยอด ต้องใช้แป้งหมี่สัก 1/3 ก.ก นวดกับไข่ที่ตีไว้เสียก่อน ก่อนที่จะตักหยอดลงในน้ำเชื่อม

วิธีการทำน้ำเต้าหู้

วิธีทำน้ำเต้าหู้ สูตรทำน้ำเต้าหู้

"น้ำเต้าหู้" เชื่อว่าทุกคนคงได้ลองลิ้มชิมรสกันมาแล้ว เนื่องจากเป็นเครื่องดื่ม สำหรับผู้ที่รักสุขภาพที่น่าจะมีราคาถูกสุด บางคนก็ทำทานเล่น บางคนก็สามารถพัฒนาไปสู่การทำขายเป็นอาชีพได้อย่างไม่ยากเย็นนัก
น้ำเต้าหู้




ส่วนผสมทำนมถั่วเหลือง

สูตร 1-ถั่วเหลือง 1 กิโลกรัม น้ำตาลทรายขาวละเอียด 360 กรัม เกลือเสริมไอโอดีน ป่น 1 ช้อนชา น้ำสะอาด 32 ถ้วย ( ประมาณ 8 ลิตร )

สูตร 2-ถั่วเหลือง 1 กิโลกรัม น้ำตาลทรายขาวละเอียด 500-600 กรัม เกลือเสริมไอโอดีนป่น 1 ช้อนชาน้ำสะอาด 32 ถ้วย ( ประมาณ 8 ลิตร )

สูตร 3-ถั่วเหลือง 1 กิโลกรัม น้ำตาลทรายขาวละเอียด 1,000 กรัม เกลือเสริมไอโอดีนป่น 2 ช้อนชา น้ำสะอาด 32 ถ้วย ( ประมาณ 8 ลิตร )

สูตร 4-ถั่วเหลือง 1 กิโลกรัม น้ำตาลทรายขาวละเอียด 1,000 กรัม เกลือเสริมไอโอดีนป่น 1/2 ช้อนชา น้ำสะอาด 32 ถ้วย ( ประมาณ 8 ลิตร )

สูตรทุกสูตรคล้ายคลึงกัน ต่างกันที่ปริมาณเกลือและน้ำตาลเท่านั้น

ถ้าจะให้มีรสมันเพิ่ม เวลาปั่นให้ใส่ ถั่วลิสงคั่ว 1 กำมือ ปั่นรวมกันสีน้ำนมจะออกสีเหลือง หรือ อาจใช้นมข้น ประมาณครึ่งกระป๋องใส่ลงไปก็จะได้น้ำนมถั่วเหลืองที่มีสีขาวชวนรับประทาน มีกลิ่นหอมและมีรสมัน เหมือนนมสด

ขั้นตอนและวิธีทำ :

1.นำถั่วเหลือง( ใช้ชนิดถั่วเหลืองทั้งเมล็ด ไม่ใช้ถั่วเหลืองซีก ) มาคัดเอาสิ่งสกปรก กรวดทรายดิน ออกให้หมดล้างให้สะอาด ( เมล็ดที่เสียจะลอยน้ำ คัดทิ้ง ) เอาขึ้นจากน้ำ สงไว้

2.นำถั่วเหลืองไปคั่วให้หอม แล้วนำถั่วเหลืองที่คั่วไปแช่ในน้ำสะอาด จะใช้วิธีแช่ในน้ำร้อนประมาณ 3 ชั่วโมงก็ได้ตามสะดวกจากนั้นนำมายีเอาเปลือกออก ล้างให้สะอาด เอาขึ้นจากน้ำ สงไว้ การแช่ถั่วเหลืองไม่ควรนานเกิน 2-3 ชั่วโมงให้สังเกตว่าพอเม็ดถั่วเริ่มพอง อมน้ำเต็มที่ก็จะใช้ได้ ถ้าเราแช่เมล็ดถั่วเหลืองในน้ำนานเกินไปจะทำให้โปรตีนในถั่วจับตัวกันได้ไม่ดีเท่าที่ควร หรือ โดยให้น้ำท่วมประมาณ 3 เท่าของถั่วเหลือง แช่นานประมาณ 5 - 8 ชั่วโมง

3.แบ่งถั่วเหลืองพอประมาณใส่ในเครื่องปั่นน้ำผลไม้ แล้วใส่น้ำให้พอปริ่มๆถั่วเหลืองปั่นให้ละเอียด แบ่งปั่นไปเรื่อยๆ หรือ บดด้วยโม่หิน จนถั่วเหลืองหมด

4.ตวงน้ำ 2 ลิตร นำไปต้มจนเดือดจัด

5.ระหว่างที่รอ ให้เทน้ำถั่วเหลืองที่ปั่นไว้แล้วใส่ลงไปในหม้อที่รองด้วยผ้าขาวบาง 2 ชั้น นำน้ำที่ต้มเดือดเทตามลงไป คนให้เข้ากัน น้ำจะอุ่นพอดี คั้นเอาแต่น้ำนมถั่วเหลืองแบบคั้นกะทิ แล้วแยกกรองกากออกมา

6.เทน้ำถั่วเหลืองที่คั้นไว้ไว้แล้วใส่ลงไปในหม้อ โดยกรองด้วยผ้าขาวบาง 2 ชั้นเสร็จแล้วเติมน้ำส่วนที่เหลือทั้งหมดลงไปในหม้อ คนให้เข้ากัน

5.ยกหม้อขึ้นตั้งไฟ ( ถ้าต้องการใช้กลิ่นใบเตยดับกลิ่นสาปถั่วเหลือง ใส่ใบเตยตอนนี้ ) ต้มด้วยไฟกลาง พอเริ่มจะเดือด ก็ใช้ไฟอ่อน คุมอุณหภูมิไม่ให้เกิน 90 องศาเซลเชียส ( น้ำจะเดือดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเชียส )คือต้มให้น้ำถั่วเหลืองร้อนแต่ไม่เดือด ขั้นตอนในการต้มใช้เวลาประมาณ 30-40 นาทีในขณะต้มต้องหมั่นคนอยู่ตลอดเวลา มิฉะนั้นจะไหม้ได้ง่าย พอชิมดูว่าถั่วเหลืองสุกแล้วใส่เกลือครึ่งช้อนชาเคี่ยวต่ออีกประมาณ 5 นาที ปิดไฟหรือยกลง เติมน้ำตาลและเกลือป่น ชิมรสตามชอบ

การทำน้ำเชื่อมเข้มข้น :

โดยใช้น้ำตาลทรายเคี่ยวกับน้ำสะอาด ในสัดส่วน 2:1 ตั้งไฟพอให้น้ำตาลละลายหมดก็พอ ไม่ต้องเคี่ยวนาน มิฉะนั้นสีน้ำเชื่อมจะดำไม่น่าทาน

เครื่องปรุงที่ใส่ในน้ำเต้าหู้เพื่อแต่งรสเวลาเสริฟ :

ลูกเดือยต้มสุก สาคูเม็ดใหญ่ต้มสุก เม็ดแมงลักละลายน้ำจนพอง วุ้นหั่นเป็นเส้นยาว ลูกบัวต้ม ถั่วแดง ฟักเชื่อมหั่นเป็นชิ้นๆ น้ำเชื่อม ฟรุทสลัด .... ฯลฯ
( อยากใส่อะไรก็ใส่ ไม่อยากใส่อะไรก็ไม่ต้องใส่ ...ตามใจชอบ )งาอบหรือคั่วโรยหน้า

ส่วนประกอบทางโภชนาการของนมถั่วเหลือง 250 มิลลิลิตรน้ำ 217 กรัม โปรตีน 6.3 กรัม น้ำตาลแลคโตส 22.5 กรัม ไขมัน 2.8 กรัม แคลเซียม 48 กรัมให้พลังงาน 135 กิโลแคลอรี่ ( ข้อมูลจาก กองโภชนาการ กรมอนามัย )
นมถั่วเหลืองที่ทำ หากแช่เก็บไว้ในตู้เย็น สามารถเก็บได้ประมาณ 5 วัน ถ้าขั้นตอนการทำสะอาดพอ

เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มสุขภาพ ถ้าไม่ต้องการใส่น้ำตาลก็ไม่ต้องใส่ถ้าต้องการเพิ่มกลิ่นใบเตย ก็ใช้ ใบเตยล้างสะอาด 5 ใบตัดเป็นท่อน ๆ ต่อ ถั่วเหลือง 1 กิโลกรัม ถ้าต้องการแต่งสีก็เติมสีอาหารจากธรรมชาติ อาทิเช่น สีเหลือง จาก ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย หญ้าฝรั่น ดอกคำฝอย ลูกพูด ดอกกรรณิการ์ ฟักทอง มันเทศ แครอท สีเขียว จาก ใบเตยหอม ใบย่านางพริกเขียว และ ใบคะน้า สีแดง จากครั่ง มะเขือเทศสุก , กระเจี๊ยบ ,มะละกอ ,ถั่วแดง และพริกแดง สีน้ำเงิน จากดอกอัญชัน สีม่วง จาก ดอกอัญชันสีน้ำเงินผสมมะนาว , ข้าวเหนียวดำ และถั่วดำ สีแสด จากเมล็ดของผลคำแสด เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ตามไปเที่ยว...เกาะที่สวยที่สุดในประเทศไทย

ตามไปเที่ยว...เกาะที่สวยที่สุดในประเทศไทย

เกาะสิมิลัน

กระบี่

เกาะปอดะ

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ททท., คุณ ichewz, คุณ bicycle_trend, คุณรักถั่ว, คุณ Suwansiri และ นิตยสารคู่หูเดินทาง                        

          ประเทศไทย...ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีสถานที่ท่องเที่ยวสวยงามติดอันดับโลก โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล ที่งดงามเกินบรรยาย ภาพของน้ำทะเลสีคราม หาดทรายขาวละเอียด ทิวมะพร้าวเรียงราว คงชินตาใครหลาย ๆ คน วันนี้กระปุกดอทคอมเลยขอหยิบเอา "เกาะที่สวยที่สุดในประเทศไทย" อีกทั้งยังเป็นที่นิยมของทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติมาบอกกัน ดังต่อไปนี้…

หมู่เกาะสิมิลัน

หมู่เกาะสิมิลัน

          หมู่เกาะสิมิลันเป็นหมู่เกาะเล็ก ๆ ในทะเลอันดามัน มีทั้งหมด 9 เกาะ เรียงลำดับจากเหนือมาใต้ ได้แก่  เกาะหูยง เกาะปายัง เกาะปาหยัน เกาะเมี่ยง (มี 2 เกาะติดกัน) เกาะปายู เกาะหัวกระโหลก (เกาะบอน) เกาะสิมิลัน และเกาะบางู โดยหมู่เกาะเหล่านี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นหมู่เกาะที่มีความงาม ทั้งบนบกและใต้น้ำที่ยังคงความสมบูรณ์ของท้องทะเล สามารถดำน้ำได้ทั้งน้ำตื้นและน้ำลึก มีปะการังที่มีสีสันสวยงามหลากชนิด ปลาหลากสีสันและหายาก

          ทั้งนี้ เกาะสิมิลัน หรือ เกาะแปด  เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะสิมิลัน ลักษณะอ่าวเป็นรูปโค้งเหมือนเกือกม้า มีหาดทรายขาวละเอียดเนียนนุ่มน้ำทะเลใสน่าเล่น ใต้ทะเลมีปะการังสวยงามหลายชนิด และมีปลาประเภทต่าง ๆ ที่มีสีสันสวยงามมากมาย เป็นเกาะที่สามารถดำน้ำทั้งน้ำลึกและน้ำตื้น และทางด้านเหนือของเกาะมีก้อนหินขนาดใหญ่ รูปร่างแปลกตา เช่น หินรูปรองเท้าบู๊ท หรือรูปหัวเป็ดโดนัลด์ดั๊ก ตอนบนที่ตรงกับแนวหาดมีหินรูปเรือใบ ซึ่งเป็นจุดชมวิวที่สวยงามที่จะมองเห็นความสวยงามของท้องทะเลได้กว้างไกล

          ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน เป็นช่วงที่น่าท่องเที่ยวมากที่สุด ส่วนเดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน เป็นฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มีคลื่นลมแรงเป็นอันตรายต่อการเดินเรือและทางอุทยานฯ จะประกาศปิดเกาะในเดือนพฤษภาคมเพื่อเป็นการฟื้นฟูธรรมชาติทุกปี

เกาัะล้าน

เกาะล้าน 

          เกาะล้าน อยู่ห่างชายฝั่งพัทยาเพียง 7 กิโลเมตร นั่งเรือโดยสาร 45 นาที มีชายหาดที่สวยงามหลายแห่ง ส่วนใหญ่คึกคักไปด้วยนักท่องเที่ยวที่มาเล่นน้ำ ดูปะการัง เล่นกีฬาทางน้ำ โดยเฉพาะที่หาดตาแหวน หาดทองหลาง หาดนวล และหาดเทียน ส่วนหาดแสมบรรยากาศเงียบสงบกว่าหาดอื่น บริเวณเกาะล้าน และเกาะเล็ก ๆ ที่อยู่รอบ ๆ เช่น เกาะครก และเกาะสาก เป็นแหล่งตกปลาดำน้ำดูปะการัง ทั้งแบบน้ำลึกและน้ำตื้น และเป็นสถานที่ฝึกหัดเรียนดำน้ำ

กระบี่

 หมู่เกาะพีพี

          หมู่เกาะพีพี อยู่ห่างจากอำเภอเมืองกระบี่ 42 กิโลเมตร เป็นหมู่เกาะกลางทะเล ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ซึ่งประกอบด้วยเกาะ 6 เกาะ คือ เกาะพีพีเล เกาะพีพีดอน เกาะยูง เกาะไม้ไผ่ เกาะบิดะนอก และเกาะบิดะใน ถือเป็นอัญมณีเลอค่าแห่งทะเลอันดามัน ที่โด่งดังติดอันดับแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของโลก ด้วยความงดงามของเวิ้งอ่าวคู่ของอ่าวต้นไทร และอ่าวโละดาลัมอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์

          บวกกับทะเลในสีเขียวมรกตสวยใส ที่โอบล้อมหาดทรายขาวนวลละเอียดราวแป้งของ "อ่าวมาหยา" พร้อมแนวปะการังและสรรพชีวิตหลากสีสันนานาพันธุ์ในโลกใต้ทะเล สิ่งเหล่านี้คือแม่เหล็ก ที่ดึงดูดให้นักเดินทางนับล้านชีวิตจากทั่วทุกมุมโลก หลั่งไหลมายังหมู่เกาะเล็ก ๆ แห่งนี้ เพื่อจะมาเยี่ยมเยือนและสัมผัสให้เห็นกับตาตัวเอง จนได้รับการยกย่องว่าเป็นเกาะที่สวยงามติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก และได้ฉายาว่า มรกตแห่งอันดามัน สวรรค์เกาะพีพี

เกาะหลีเป๊ะ

 เกาะหลีเป๊ะ

          เกาะสิเป๊ะ หรือ เกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล จุดเด่นของเกาะหลีเป๊ะคือความเป็นธรรมชาติของปะการังรอบเกาะ มีเวิ้งอ่าวที่สวยงาม หาดทรายละเอียดนิ่มเหมือนแป้ง มีอ่าวที่สวยงามชื่อ "อ่าวพัทยา"และ "หาดชาวเล" มีลักษณะโค้งเว้า ทรายขาวละเอียด ซึ่งทั้งสองหาดนี้สามารถเดินถึงกันได้โดยใช้เวลาประมาณ 15 นาที และยังมีบริการบ้านพักของเอกชนคอยบริการนักท่องเที่ยวอีกด้วย นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือไปยังเกาะต่าง ๆ ได้

          นอกจากนี้ ยังมีชุมชนชาวเลอาศัยอยู่หลายครัวเรือน ส่วนใหญ่มีอาชีพทำการประมง ในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 6 และเดือน 12 ตลอด 3 วัน 3 คืน ชาวบ้านทีมีเชื้อสายชาวเลจะร่วมกันจัดงานรื่นเริง และที่สำคัญที่สุดคือ ชาวบ้านจะช่วยกันต่อเรือด้วยไม้ระกำ และประกอบพิธีลอยเรือด้วยเป็นความเชื่อว่าเป็นการเสี่ยงทายโชคชะตาในการประกอบอาชีพประมง

เกาะสมุย

เกาะสมุย

          เกาะสมุย จังหวัดราษฎร์ธานี เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอันดับต้น ๆ ของประเทศอีกแห่งหนึ่ง ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เพราะมีธรรมชาติอันงดงาม มีหาดทรายขาวละเอียดที่สะอาดบริสุทธิ์ อีกทั้งยังเพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกทุกรูปแบบครบครัน ทั้งที่พักหลากหลายรูปแบบจำนวนมาก มีการคมนาคมที่สะดวก และมีสนามบินเป็นของตัวเอง ปัจจุบันเกาะสมุยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของทะเลอ่าวไทยตอนใต้ ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติหลั่งไหลไปเยี่ยมเยือนปีละหลายล้านคน

          เกาะสมุย มีหาดทรายธรรมชาติสวยงามที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง เช่น หาดเฉวง หาดละไม หาดตลิ่งงาม และหาดนาเทียน และมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ทั้งป่าไม้และแหล่งน้ำ นอกจากนี้ ยังเต็มไปด้วยเรื่องราวและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่สร้างเสน่ห์ให้กับเกาะแห่งนี้เป็นอย่างมาก

เกาะเต่า

 เกาะเต่า

          เกาะเต่าเป็นเกาะเล็ก ๆ ตั้งอยู่โดดเดี่ยวกลางทะเลอ่าวไทย อยู่ห่างจากชายฝั่งของจังหวัดชุมพรประมาณ 74 กิโลเมตร ห่างจากชายฝั่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานีประมาณ 110 กิโลเมตร ห่างจากเกาะสมุยประมาณ 64 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากเกาะพะงันประมาณ 45 กิโลเมตร เป็นเกาะที่ได้ชื่อว่าเป็น "เกาะสวรรค์กลางทะเลอ่าวไทย" เนื่องจากเป็นเกาะที่มีธรรมชาติสวยงามและอุดมสมบูรณ์ มีแนวปะการังทั้งน้ำตื้นและน้ำลึกขนาดใหญ่และสวยงาม อันเป็นที่อยู่อาศัยของปลาหลากชนิดจำนวนมาก จนกลายเป็นจุดดำน้ำที่มีชื่อเสียงระดับโลกอีกแห่งหนึ่ง ที่นักดำน้ำทั่วโลกต่างพากันหมุนเวียนมาเยี่ยมเยือน และสัมผัสกับโลกใต้ทะเลของเกาะสวรรค์แห่งนี้

          นอกจากนี้ เกาะเต่ายังมีหาดทรายขาวละเอียดที่สะอาดบริสุทธิ์ สวยงาม และสงบเงียบ อีกหลายแห่งรอบเกาะ ที่เติมเต็มให้เกาะแห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สมบูรณ์แบบ เหมาะสมกับฉายา "เกาะสวรรค์" อีกทั้งในอดีตบริเวณชายหาดรอบ ๆ เกาะเต่า ยังเต็มไปด้วยเต่าที่มาหาแหล่งวางไข่เป็นจำนวนมาก อันเป็นที่มาของชื่อ "เกาะเต่า" นั่นเอง

เกาะลันตา

 เกาะลันตา

          เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เป็นเกาะขนาดใหญ่ที่มีผู้คนอาศัยต่อเนื่องมายาวนานกว่าร้อยปี ประกอบด้วย เกาะลันตาใหญ่ และ เกาะลันตาน้อย ทั้งนี้ แหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่อยู่บนเกาะลันตาใหญ่ โดยมีจุดเด่นอยู่ที่ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา ซึ่งตั้งอยู่ที่แหลมโตนด ตรงปลายเกาะ เป็นพื้นที่ที่สมบูรณ์ด้วยผืนป่าดงดิบ มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ และที่โดดเด่นที่สุดคือประภาคารสีขาว ซึ่งเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของเกาะลันตา ขณะที่เกาะลันตาน้อยเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอเกาะลันตา

          ด้วยระยะทางที่ห่างไกลจากแผ่นดิน เกาะลันตาจึงยังคงความสวยงามของหาดทรายและน้ำทะเลสะอาด อีกทั้งยังมีวิถีชีวิตของชาวเกาะดั้งเดิม ที่มีทั้งชาวไทยพุทธ ชาวไทยจีน ชาวไทยมุสลิม และชาวไทยใหม่ (ชาวเล) อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ผสานกับความเจริญทางด้านหัวเกาะแถบท่าเรือและชายหาดฝั่งตะวันตก ซึ่งคึกคักด้วยนักท่องเที่ยว การมาเยือนเกาะลันตาจึงได้เที่ยวหลายบรรยากาศในคราวเดียวกัน

เกาะกูด

เกาะกูด

          เกาะกูด เกาะสุดท้ายปลายทะเลตะวันออกในจังหวัดตราดของไทย ติดชายแดนทางทะเลของกัมพูชา ด้วยความที่เป็นเกาะขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ทำให้ดินแดนแห่งนี้เปี่ยมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์อยู่มากมาย และสวยงาม เหมาะแก่การท่องเที่ยวและการพักผ่อน และด้วยพื้นที่ที่เป็นภูเขาและที่ราบสันเขา จึงเป็นต้นกำเนิดลำห้วยต่างๆ ซึ่งก็ทำให้เกาะกูดมีน้ำตกหลายแห่ง บนเกาะกูดยังมีสถานที่ท่องเที่ยว คือชายหาดเนียนละเอียด เคียงข้างน้ำทะเลใสแจ๋ว อีกทั้งยังมีป่าชายเลนที่สมบูรณ์และแนวปะการังนานาชนิด จนได้รับสมญานามว่า "อันดามันแห่งทะเลตะวันออก"

เกาะพยาม

 เกาะพยาม

          เกาะพยาม จังหสัดระนอง เป็นเกาะขนาดใหญ่ มีชาวบ้านอาศัยอยู่บนเกาะประมาณ 160 ครัวเรือน ชาวบ้านมีอาชีพทำสวนมะม่วงหิมพานต์ สวนยางพาราและประมงชายฝั่ง กิจกรรมบนเกาะจะมีการตกปลา ขี่จักรยานรอบเกาะ และสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการดำน้ำดูปะการัง เกาะพยามถือเป็นแหล่งดูปะการังที่สมบูรณ์สวยงาม และด้านทิศตะวันออกของเกาะไม่มีหาดทราย แต่มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลน และมีชาวเล เผ่ามอแกน มาอาศัยอยู่เป็นบางครั้ง บนเกาะพยามมีที่พักบริการนักท่องเที่ยว

หมู่เกาะอาดัง-ราวี

 หมู่เกาะอาดัง-ราวี

          หมู่เกาะอาดัง-ราวี ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ซึ่งเป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในจังหวัดสตูล และอยู่ในเขตทะเลอันดามัน เป็นหมู่เกาะที่มีความสวยงาม อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มีสภาพธรรมชาติที่น่าสนใจ โดย เกาะอาดัง ในอดีตเป็นที่ซ่องสุมของโจรสลัด ปล้นสะดมเรือ มีหาดทรายขาวละเอียด สวยงาม และมีแนวปะการังอยู่รอบๆ เกาะ เหมาะสำหรับดำน้ำตื้น เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ตต. 5 (แหลมสน) อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 40 กิโลเมตร

          ส่วน เกาะราวี มีหาดทรายขาว น้ำใส เงียบสงบ เหมาะแก่การกางเต็นท์พักผ่อน เล่นน้ำ ดำน้ำตื้น และดำน้ำลึกชมแนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลที่น่าชม เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ตต. 6 (หาดทรายขาว) และหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ตต. 7 (ตะโละปะเหลียน) ซึ่งเดือนที่เหมาะแก่ท่องเที่ยวอยู่ในระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน

เกาะนางยวน

เกาะนางยวน

          เกาะนางยวน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วยเกาะขนาดเล็ก 3 เกาะ ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยสันทรายในลักษณะเหมือนทะเลแหวก เสน่ห์ของเกาะนางยวนนั้น มาจากน้ำทะเลสีมรกตที่ใสจนมองเห็นตัวปลาตัวเล็กตัวน้อย เปลือกหอย และปะการัง ซึ่งอยู่ใต้น้ำอย่างชัดเจน ส่วนกิจกรรมสุดฮิตของที่นี่คือ การดำน้ำดูปะการังปละปลาสวยงาม เล่นน้ำริมหาด จะว่าไปนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เลือกมาท่องเที่ยวและพักผ่อนที่นี่นั้น เหตุเพราะมีบรรยากาศที่เป็นส่วนตัว อากาศสดชื่น ทั้งยังมีความเขียวขจีของเขาเล็ก ๆ 3 เขารายรอบ และความงามของท้องทะเลมาบรรจบกัน

          เพราะฉะนั้น หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่มีใจรักธรรมชาติ หลงรักน้ำทะเล ชอบความเป็นส่วนตัว และต้องการพักผ่อนอย่างแท้จริง อย่าลืมมาพักผ่อนที่ "เกาะนางยวน"

เกาะมันนอก

 เกาะมันนอก

เกาะมันนอก เป็นเกาะเล็ก ๆ เกาะหนึ่งใน หมู่เกาะมัน ที่ตั้งเรียงกันอยู่ในอ่าวแกลง จังหวัดระยอง เป็นเกาะที่ค่อนข้างเงียบสงบและร่มรื่น เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการมาพักผ่อนโดยแท้ อีกทั้งยังมีหาดทรายละเอียดสีขาว น้ำทะเลสีฟ้าใส สายลมพลิ้วไหวเหนือสายน้ำ สำหรับกิจกรรมสุดฮิตของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวบนเกาะมันนอก คือเล่นน้ำทะเล ดำน้ำชมความงามของปะการังต่างๆ ที่ขึ้นอยู่ใต้น้ำรอบ ๆ เกาะมันนอก และทำกิจกรรมส่วนตัวตามอัธยาศัย เพราะเกาะนี้มีความเป็นส่วนตัวมาก ๆ

หมู่เกาะสุรินทร์

หมู่เกาะสุรินทร์

          หมู่เกาะสุรินทร์ หรือ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ตั้งชื่อตามพระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) เทศาเมืองภูเก็ต ผู้ค้นพบเกาะ เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดพังงา มีลักษณะเป็นหมู่เกาะในทะเลอันดามัน อยู่ติดกับชายแดน ไทย - พม่า ประกอบด้วยเกาะ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะไข่ (เกาะตอรินลา) เกาะกลาง (เกาะปาจุมบา) เกาะรี (เกาะสต๊อก) และ 1 กองหินปริ่มน้ำ คือ กองหินริเชลิว

          นับว่ามีธรรมชาติที่สมบูรณ์ทั้งบนบกและในทะเล มีทั้งป่าดิบชื้น ป่าชายหาด ป่าชายเลนมาประจบกับแนวปะการัง แนวปะการังมีความสมบูรณ์ เหมาะสำหรับชมปะการังน้ำตื้น โดยกองหินริเชริวเหมาะสำหรับดำน้ำลึก เป็นแหล่งสมบูรณ์ด้วยธรรมชาติใต้ทะเล มีปลาหลายชนิด และเป็นจุดที่พบฉลามวาฬบ่อยสุดของทะเลไทย ช่วงเวลาที่เหมาะกับการท่องเที่ยว คือ เดือนพฤษจิกายนถึง เดือนเมษายน

          นอกจากนี้ ยังมีหมู่บ้านของชาวเลเลกลุ่มสุดท้ายที่ยังดำรงวัฒนธรรมดั้งเดิมมากที่สุด คือ "มอแกน" หรือ "ยิบซีแห่งท้องทะเล" ประมาณ 200 คนปัจจุบันได้ตั้งหมู่บ้านอยู่ที่เกาะสุรินทร์ใต้ ขายของที่ระลึกให้นักท่องเที่ยว และบางส่วนทำงานเป็นลูกจ้างของอุทยานฯ

หมู่เกาะอ่างทอง

 หมู่เกาะอ่างทอง

          หมู่เกาะอ่างทอง ตั้งอยู่ในพื้นที่ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ 42 เกาะ ได้แก่ เกาะพะลวย เกาะวัวตาหลับ เกาะแม่เกาะ เกาะสามเส้า เกาะหินดับ เกาะนายพุด และเกาะไผ่ลวก เป็นต้น ซึ่งตามเกาะต่าง ๆ จะมีหาดทรายอยู่เกือบทุกเกาะ บางเกาะหาดทรายมีสีขาวสะอาดบริสุทธิ์ บางเกาะมีปะการังตามชายทะเลหลายชนิด สีสวยงามหลากสี อยู่ท่ามกลางความเงียบสงบ

          แหล่งท่องเที่ยวใน หมู่เกาะอ่างทอง ได้แก่ เกาะท้ายเพลาและเกาะวัวกันตัง เป็นจุดที่มีแนวปะการังและหาดทรายขาวสะอาด, เกาะวัวตาหลับ อยู่บริเวณอ่าวคา เป็นหาดทรายขาวสะอาดเหมาะแก่การเล่นน้ำ นอนเล่นพักผ่อนริมหาด เมื่อขึ้นไปจุดชมทิวทัศน์บนยอดเขา จะมองเห็นหมู่เกาะอ่างทองทั้งหมดที่ทอดตัวเรียงรายเป็นแนวยาวด้วยรูปร่างต่าง ๆ แปลกตา, เกาะหินดับ เป็นเกาะที่มีหาดทรายที่สวยงามและชายหาดที่ยาวที่สุดในอุทยานแห่งชาติ สภาพภูมิประเทศและทัศนียภาพรอบเกาะสวยงามน่าชม

          ทะเลใน หรือ ทะเลสาบกลางภูเขา อยู่บน เกาะแม่เกาะ เป็นแอ่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ที่ถูกโอบล้อมไปด้วยเทือกเขาหินปูนที่สูงสลับ ซับซ้อนแต่มีอุโมงค์ใต้น้ำที่เชื่อมต่อกับทะเล การกำเนิดของทะเลสาบน้ำเค็มนี้ได้มีการสันนิษฐานว่า เกิดจากการยุบตัวของหินชั้นล่างทำให้เกิดบ่อยุบ ซึ่งเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับหมู่เกาะ หรืออาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในกระบวนการเดียวกับการเกิดถ้ำ

          ทั้งนี้ ช่วงเวลาระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ของทุกปี เป็นช่วงฤดูมรสุม ทะเลจะมีคลื่นลมแรง ทำให้การเดินทางไป หมู่เกาะอ่างทอง ไม่มีความปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว ทางอุทยานแห่งชาติจึงกำหนดปิดการท่องเที่ยวประจำปี ได้แก่ ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน - 23 ธันวาคม ของทุกปี และจะเปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม - 31 ตุลาคม ของทุกปี

เกาะไข่นอก

เกาะไข่

          เกาะไข่ หรือ เกาะตอริลลา เป็นเกาะเล็ก ๆ สองเกาะ เรียกว่า เกาะไข่นอก เกาะไข่ใน ทั้งสองเกาะมีหาดทรายขาวน้ำทะเลใสมีปลาหลากชนิดสีสันสวยงามว่ายอยู่ใกล้ ๆ ชายหาด มีปะการังสวยงาม การเดินทางไปเกาะไข่สามารถซื้อทัวร์ได้จากบริษัทนำเที่ยว หรือเช่าเรือได้จากท่าเรือเกาะสิเหร่ ท่าเรือแหลมหิน หรืออ่าวฉลอง ในจังหวัดภูเก็ต

เกาะกระดาน

 เกาะกระดาน

          เป็นเกาะที่สวยที่สุดของทะเลตรัง อยู่ทางด้านตะวันตกของเกาะมุกและเกาะลิบง มีเนื้อที่ 600 ไร่ ซึ่ง 5 ใน 6 ส่วนของเกาะนี้อยู่ในความรับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ที่เหลือเป็นของเอกชน เกาะกระดานมีชายหาดที่มีทรายขาวละเอียดและน้ำทะเลใสจนมองเห็นแนวปะการังซึ่งเป็นปะการังน้ำตื้น ตลอดจนฝูงปลาหลากสีหลายพันธุ์  บนเกาะมีที่พักบริการทั้งของเอกชน และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช

หมู่เกาะปอดะ

 หมู่เกาะปอดะ

          ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอ่าวนาง จังหวัดกระบี่ ห่างจากฝั่งประมาณ 8 กิโลเมตร เป็นเกาะที่มีหาดทรายขาว น้ำทะเลใส  บริเวณชายฝั่งของเกาะจะมองเห็นแนวปะการังหลากชนิดที่ยังสมบูรณ์ จึงเป็นแหล่งดึงดูดของนักท่องเที่ยวให้เที่ยวชมได้เกือบตลอดปี และเป็นจุดที่ตกปลาได้ดีเพราะไม่ได้รับผลกระทบจากลมมรสุมมากนัก สามารถเช่าเรือได้จากบริเวณอ่าวนาง ใช้เวลาเดินทางประมาณ 25 นาที ราคาเรือหางยาวเที่ยวไป-กลับคนละ 300 บาท